อาหารขณะท้องนั้น อันดับแรกเลยควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหาร เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่นั้นสมบูรณ์และมีสารอาหารเพียงพอที่จะไปหล่อเลี้ยงเด็กในท้อง เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น ร่างกายจะต้องการอาหารเพิ่มขึ้นเช่นกัน คุณแม่ควรเพิ่มน้ำหนักรวมประมาณ 8-14 kg
เพิ่มน้ำหนักขณะตั้งครรภ์เท่าไหร่ดี?
การเพิ่มน้ำหนักนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงไตรมาสแรก 1-3 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1kg – 1.5kg แต่บางคนน้ำหนักอาจจะไม่เพิ่มเลยก็มี เนื่องจากช่วงนี้จะมีอาการแพ้ท้องมาก ทำให้ทานอาหารไม่ค่อยได้ หลังจาก 3 เดือนแรกก็จะเริ่มทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
ช่วงไตรมาสสอง 4-6 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 4kg – 5kg
ช่วงไตรมาสสาม 6-9 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5kg – 6kg
วิธีการคำนวณหาดัชนีมวลกาย BMI (Body mass index)
ค่า BMI < 19.8 = ผอม (ควรเพิ่มน้ำหนัก 12.5kg ถึง 18kg)
ค่า BMI ระหว่าง 19.8 – 26 = ปกติ (ควรเพิ่มน้ำหนัก 11.5kg ถึง 16kg)ค่า BMI ระหว่าง 26 – 29 = ท้วม (ควรเพิ่มน้ำหนัก 7kg ถึง 11.5kg)
ค่า BMI > 29 = อ้วน (ควรเพิ่มน้ำหนัก 7kg)
ว่าด้วยการเพิ่มน้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์
น้ำหนักของคุณแม่ควรจะเพิ่มเท่าไหร่ดี?
การเพิ่มน้ำหนักของคุณแม่นั้น หากคนผอมควรเพิ่มมากหน่อย คนอ้วนควรเพิ่มน้อยหน่อย ยิ่งเกินเยอะมากเกินไปน้ำหนักจะไปสะสมอยู่กับแม่
คุณแม่เองไม่ควรเพิ่มน้ำหนักมากจนเกินไป ควรหลีกเลี่ยวอาหารประเภทแป้งและไขมัน เพราะอาหารเหล่านี้จะมีโอกาสทำให้ลูกนั้นเป็นโรคอ้วน หรือ โรคเบาหวาน ได้
ดังนั้นควรเพิ่มน้ำหนักพอดีๆ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปจะดีที่สุด พยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะเป็นผลดีต่อลูกในท้อง