Thursday, September 12, 2013

ลูกเบื่ออาหารทำยังไง

พ่อแม่หลายคนมีปัญหาเรื่องลูกเบื่ออาหาร แล้วกลุ้มใจว่าจะทำอย่างไรดีลูกจึงยอมทานอาหาร  เพราะกลัวว่าลูกจะขาดอาหาร ตัวไม่โต สมองไม่ดี เรียนหนังสือไม่เก่ง คิดมากจนแทบเป็นโรคเบื่ออาหารตามลูกไปเลย จริงๆแล้วปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากความวิตกกังวลมากเกินไปของพ่อแม่มากกว่าสาเหตุอื่น โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกคนเดียวหรือมีลูกยาก หรือมีเมื่อตอนอายุมากแล้ว มักมีความวิตกกังวลมากกว่าปกติทั่วไป

ทำไมลูกถึงเบื่ออาหาร?

สาเหตุที่ทำให้ลูกเบื่ออาหาร 

1.ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากวิธีการเลี้ยงดูให้อาหารไม่ถูกต้อง พ่อแม่ส่วนใหญ่เมื่อเห็นว่าลูกไม่ทานหรือทานช้า มักแก้ปัญหาโดยวิธีการต่างๆ เช่น บังคับหรือลงโทษลูก ดุด่า ว่ากล่าว หรือบางรายใช้วิธีตีลูก แต่ก็มีพ่อแม่บางรายใช้วิธีตรงกันข้าม คะยั้นคะยอให้ลูกทาน พยายามให้ลูกทานเร็วๆ ทานมากๆ (เท่าที่พ่อแม่ต้องการ) หรือบางรายใช้วิธีติดสินบน ถ้าลูกทานหมดคำนี้ จานนี้เดี๋ยวจะพาไปเที่ยวหรือซื้อของให้หรือแทบจะต้องกราบไหว้เกือบทุกคำที่ลูกทาน บางรายใช้วิธีทานไป เดินหรือวิ่งหรือนั่งรถไปด้วย ซึ่งที่จริงแล้วพ่อแม่เหล่านี้มักจะลืมนึกถึงธรรมชาติของลูกว่าเด็กแต่ละคนมีธรรมชาติแตกต่างกัน เช่น

      1.1รูปร่างของลูก เด็กแต่ละคนจะมีรูปร่างไม่เท่ากัน จึงมีความต้องการสารอาหาร (รับประทาน) ไม่เท่ากัน เด็กที่เกิดมาตัวเล็ก น้ำหนักน้อยมักต้องการสารอาหาร (รับประทาน) น้อยกว่าเด็กที่มีรูปร่างโตกว่า เพราะฉะนั้นอย่าพยายามเปรียบเทียบการทานของลูกเรากับลูกคนอื่นจนลืมนึกถึงข้อนี้ไป

       1.2ธรรมชาติของลูก  เด็กในวัยตั้งแต่อายุ 9 เดือนถึง 3 ปี จะมีลักษณะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง มักอยากทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ถ้าพ่อ แม่คะยั้นคะยอ หรือบังคับให้ลูกทานก็เท่ากับกระตุ้นให้ลูกต่อต้านและทำในสิ่งตรงข้าม  โดยการไม่ทานเพื่อลองดูว่า ถ้าไม่ทานพ่อแม่จะทำอย่างไร  ในที่สุดก็เกิดสงครามลองดีกันบนโต๊ะทานข้าว ยิ่งบังคับมากก็ยิ่งสร้างปัญหามาก ลูกบางคนต่อต้านโดยการทานช้า อมข้าวไว้ในปาก หรืออาเจียนอาหารที่ถูกบังคับให้ทานออกมา แล้วในที่สุดใครเป็นผู้แพ้ ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ (จริงไหม?)

      1.3ความอยากทานอาหารของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน เด็กบางคนมีความอยากทานมากกว่าเด็กอีกคน บางคนจึงทานอาหารมาก บางคนทานน้อย นอกจากนี้ในเด็กคนเดียวกัน บางวันก็อยากทานอาหารมาก บางวันก็ทานได้น้อย ซึ่งก็คล้ายๆ กับผู้ใหญ่อย่างเรา บางมื้อทานได้มาก บางมื้อก็ทานได้น้อย

      1.4 เด็กแต่ละคนชอบอาหารที่มีลักษณะ หน้าตา หรือรสไม่เหมือนกัน ลางเนื้อชอบลางยา จึงมีบ่อยครั้งที่พ่อ แม่เตรียมอาหารที่คิดว่าวิเศษสุดมีคุณภาพครบถ้วนยอดเยี่ยมตามตำราที่อ่านมา แต่ลืมนึกไปว่าลูกไม่ชอบ ก็ทำให้ลูกไม่อยากทาน แต่ถึงแม้ว่าลูกจะชอบทานอาหารชนิดนั้นมาก แต่ถ้าทำให้ทานทุกมื้อทุกวันก็คงทานไม่ลงเหมือนกัน

2.เนื่องจากเด็กไม่สบาย เช่น มีไข้  เป็นหวัด ฟันกำลังขึ้นหรือมีอาการไม่สบายอย่างอื่นๆ ก็ทำให้เด็กทาน

อาหารได้น้อยลง  ดังนั้นถ้าสงสัยว่าลูกไม่สบาย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา เมื่อโรคเหล่านั้นหาย เด็กก็จะกลับมาทานอาหารได้ตามปกติ

3.ยาบางตัว เช่น แอมเฟตามีน ยาปฎิชีวนะ ยากันชักบางตัว เช่น ไดแลนติน โซเดียมวาลโปรเอท การรับประทานไวตามินเอหรือดีมากเกินไป สามารถทำให้ความอยากรับประทานอาหารลดน้อยลงได้

ทำอย่างไรดี ถ้าลูกเบื่ออาหาร?

ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจสาเหตุที่กล่าวมา ก็จะแก้ไขได้ไม่ยาก  โดยพยายามแก้ไขสาเหตุดังกล่าว เช่น ต้องเข้าใจธรรมชาติของลูก ไม่คะยั้นคะยอ หรือบังคับลูกให้ทาน สนใจในการทานอาหารของลูก เช่น ชนิด ลักษณะและรสอาหารที่ลูกชอบ แต่ต้องไม่วิตกกังวลเกินไป ให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร เช่น ล้างหรือเด็ดผัก ตีไข่ ถือจานฯ พยายามทำบรรยากาศขณะทานให้มีความสุขและชวนทาน  โดยให้เด็กทานเอง นั่งโต๊ะรับประทานร่วมกับผู้ใหญ่หรือเด็กคนอื่นๆ ไม่มีการดุด่า เคี่ยวเข็ญให้ทานอาหารมากๆ พยายามทำอาหารที่ลูกชอบ (คงต้องมีอาหารสักอย่างที่ลูกชอบมากที่สุดจนถึงชอบน้อยรองๆลงมา) ตักอาหารให้น้อยกว่าที่ลูกจะทานได้ หมดแล้วค่อยเติมใหม่จะเป็นการกระตุ้นให้ลูกอยากทานอาหารมากขึ้น ชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อลูกทาน แต่ถ้าลูกยังไม่ทานอาหารมื้อนั้น ห้ามให้ขนมหรือนมหรืออาหารอื่นทดแทน และถ้าลูกยังไม่ทานอาหารมื้อต่อไปอีก ก็ให้เก็บอาหารแล้วปล่อยให้อดอีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆหลายมื้อรอจนลูกหิวได้ที่ก็จะยอมทานอาหารมื้อต่อไปเอง เพราะหมอยังไม่เคยเห็นเด็กคนไหนที่หิวจริงๆแล้วไม่ยอมทาน ก็เหมือนกับผู้ใหญ่ที่เวลาหิวอะไรก็อร่อย สำคัญตรงที่พ่อ แม่จะสามารถอดทนต่ออาการงอแง ร้องไห้ของลูกและรอจนลูกหิวจริงได้หรือไม่เท่านั้นเอง

ถ้าลูกไม่ทานอาหารบ่อยๆ จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกขาดอาหาร?

 ข้อนี้ดูไม่ยาก ถ้าดูลูกทั่วไปปกติดี แข็งแรง วิ่งเล่น ร่าเริงตามปกติ ไม่เจ็บป่วยบ่อย ไม่ซึมเศร้า เหงาหงอย ร่างกายโตสมส่วนก็ถือได้ว่าลูกปกติ นอกจากนี้อาจดูได้จากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเทียบกับอายุจริงของลูก ค่านี้ควรอยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีนี้ทำได้เองไม่ยาก โดยเทียบน้ำหนัก ส่วนสูงของลูกกับอายุจริงลงในแผนภูมิแสดงมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย  ซึ่งมีอยู่ในสมุดสุขภาพซึ่งทางโรงพยาบาลแจกให้เมื่อไปคลอดลูก หรือถ้าสงสัยลองสอบถามหมอที่ดูแลสุขภาพลูกอยู่ ก็คงได้คำตอบแน่นอน

ยากระตุ้นให้ทานอาหารจำเป็นหรือไม่? 

โดยความเป็นจริงแล้วปัญหาส่วนใหญ่ที่พบไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้ เนื่องจากสามารถแก้ไขได้โดยวิธีการที่กล่าวมาแล้ว อีกทั้งการบังคับให้เด็กทานยาก็อาจจะทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีก ยกเว้นบางรายที่ไม่ยอมทานอาหารมานานจนเป็นนิสัย อาจจะต้องใช้ยากระตุ้นให้ทานอาหารชั่วคราวพร้อมๆ กับเปลี่ยนแปลงวิธีการเลี้ยงดูและอุปโภคนิสัยไปพร้อมๆกัน ซึ่งยากระตุ้นนี้ เช่น เปอริแอคตินหรือไซโปรเฮพตาดีน  ถ้าใช้นานเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายเด็ก ทำให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกายเด็กลดลง จึงควรปรึกษาแพทย์จะดีกว่าซื้อยาใช้เอง

ท้ายนี้หวังว่าคุณพ่อ คุณแม่คงได้คำตอบบ้างว่าควรทำอย่างไรดีเมื่อลูกเบื่ออาหาร และควรจำไว้ว่า เด็กทุกคนมีธรรมชาติของตนเองไม่เหมือนกัน และตามธรรมชาติเด็กทุกคนย่อมมีความอยากทานอาหารอย่างเพียงพอที่จะทำให้สุขภาพของตนเองสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้ว การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมจะทำให้การทานของเด็กไม่เป็นไปตามธรรมชาติของเด็กที่ควรเป็น การเอาใจใส่ดูแลลูกนั้นเป็นสิ่งทีดี แต่ต้องทำให้เหมาะสม ไม่วิตกกังวลมากเกินไปจนทำให้เกิดการเลี้ยงดูที่ฝืนธรรมชาติของลูก ก็จะเป็นผลดีต่อลูกและตัวท่านเอง และโปรดจำไว้เสมอว่า ลูกกินแน่ ถ้าพ่อแม่รู้ใจ


คอลัมน์ รักษ์ลูก รักครอบครัว
ตอน ลูกเบื่ออาหาร แก้ได้ง่ายนิดเดียว
โดย รศ.นพ.สังคม  จงพิพัฒน์วณิชย์

อาการเจ็บท้องคลอด จากประสบการณ์คุณแม่

อาการโก่งตัวของเด็ก ?
อาการท้องแข็ง?
อาการเจ็บหลอก?
อาการเจ็บจริง?

จากประสบการณ์นะคะ  จากการที่สงสัยว่าทำไมเวลาท้องแข็งแล้วมักจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย (แบบจิ๊ด ๆ) ก็เลยไปหาคุณหมอก่อนวันนัดตรวจครรภ์ 1 สัปดาห์  ก็ปรากฎคำอธิบายดังนี้ แบบเข้าใจง่าย ๆ (ภาษาชาวบ้าน)

อาการโก่งตัวของเด็กในครรภ์

-  เด็กจะโก่งตัวจนสามารถสัมผัสได้ว่าเป็นหัวหรือก้น (ลองคลำดูนะคะ)  ท้องจะแข็งเป็นบางส่วน ลองเอานิ้วกดที่บริเวณท้องดูก็จะนิ่ม ๆ แต่จะไม่มีอาการปวด

อาการท้องแข็ง

-  เป็นการฝึกหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งจะสามารถแข็งทุกส่วนและจะไม่นิ่ม อาจจะมีอาการปวดท้องหรือไม่มีก็ได้  ถ้ามีอาการปวดท้องมาก ๆ ลองจับเวลาดูนะคะว่าประมาณกี่วินาที และแต่ละครั้งห่างกันกี่นาที หรือกี่ชั่วโมง และเป็นวันละกี่ครั้ง หรือเป็นกี่วันครั้ง

อาการเจ็บหลอก หรือ เจ็บเตือน

-  จะมีอาการท้องแข็ง พร้อมทั้งรู้สึกว่าหายใจไม่เต็มปอด และจะเริ่มค่อย ๆ ปวดท้องทีละนิด เป็นแบบจิ๊ด ๆ (เหมือนปวดท้องรอบเดือน) เป็นประมาณไม่เกิน 1 นาทีก็จะหายไป อาจจะเริ่มอีกครั้งในวันนั้น หรือวันถัดไปก็ได้ ซึ่งจะไม่สม่ำเสมอ  คุณหมอบอกถ้ามีอาการดังนี้ ให้นอนพักอยู่เฉย ๆ ห้ามเคลื่อนไหว แล้วสังเกตว่าอาการดังกล่างหายไปหรือเปล่า  ถ้าหาย แสดงว่าเป็นการเจ็บหลอก  แต่ถ้าไม่หายให้สังเกตว่า มีอาการแบบข้างต้นสม่ำเสมอหรือเปล่า  พร้อมกับสังเกตว่าลูกดิ้นเป็นปกติหรือเปล่า ถ้าลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ (ขั้นต่ำ 10 ครั้งใน 1 วัน ก็ควรปรึกษาคุณหมอค่ะ)

อาการเจ็บท้องคลอด

-  อาจจะะมีน้ำเดิน (น้ำคร่ำจากมดลูก) ท้องเสีย หรือมูกเลือด (ปิดอยู่ตรงปากมดลูกหลุดออกมา)  หรือเจ็บท้องคลอดก่อน แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน (แม้แต่คุณแม่คนเดียวกัน แต่ก็แตกต่างกันได้ระหว่างท้องแรก และท้องถัดมา)

-  ถ้าสังเกตให้ดีจะมีอาการเหมือนเจ็บท้องหลอก  แต่จะถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น และสม่ำเสมอขึ้น  จนกระทั่งปากมดลูกเปิดหมด 10 เซ็น  (คือมีลมเบ่ง เหมือนอยากถ่ายอุจจาระ)  หรือ

- อาการท้องแข็ง ร่วมกับปวดท้องแบบรุนแรง จนเลยไปถึงบริเวณข้างหลัง หรือแถวก้นกบ  นั้นคือ อาการเจ็บท้องคลอด

ไปหาคุณหมอคราวนี้สอบถามซะละเอียดเลยค่ะ  ของเราตอนนี้ 28 week 4 day  (กำหนดคลอด 3 ธ.ค.52 ค่ะ)  เริ่มมีอาการเจ็บหลอกแล้ว  คุณหมอก็ให้สังเกตว่า ลูกดิ้นปกติดีหรือเปล่า  ระยะเวลาการเจ็บหลอกถี่และห่างแค่ไหนใน 1 สัปดาห์  แต่ตอนนี้สบายใจได้เลยยังหัวลอยอยู่ ปากมดลูกก็ยังปิดสนิทและหนาดีอยู่ คงยังไม่คลอดเดือนนี้หรอก  อีก 3 สัปดาห์ค่อยมาดูอาการกันอีกที (ตามที่แนะนำไป)

หวังว่าการเล่าเกี่ยวกับการตรวจครรภ์ครั้งนี้ คงมีประโยชน์สำหรับว่าที่คุณแม่ไม่มากก็น้อยนะคะ

จากคุณ :- aunso6785

Monday, September 9, 2013

กินอะไรในช่วงตั้งครรภ์



ในช่วงที่หญิงตั้งครรภ์นั้นควรกินอาหารที่มีประโยชน์และกินครบตามหลักโภชนาการทั้ง 5 หมู่

1.โปรตีน เป็นสารอาหารหลักและสำคัญต่อการสร้างอวัยวะและส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึหรอให้แก่แม่อีกด้วย

รับสารอาหารประเภทโปรตีนได้จาก : เนื้อ นม ไข่ ถั่ว

- เนื้อ ควรเป็นเนื้อที่สุก

- นม การดื่มนำกับผู้หญิงตั้งครรภ์นั้น หากคุณแม่ไม่เคยดื่มเป็นประจำมาก่อน อาจจะทำให้แพ้นมวัวได้ ส่วนนมประเภทนมข้นหวานควรงด เนื่องจากนมประเภทนี้ให้โปรตีนน้อยแถมยังมีน้ำตาลอีกมากด้วย

- ไข่ ควรกินอย่างน้อย 1 ฟองต่อวันและเป็นไข่สุกเท่านั้น

- ถั่ว เช่นพวกนมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ เป็นทางเลือกให้แก้สำหรับผู้หญิงที่แพ้นมวัว

2.คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน

รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตได้จาก : ข้าว แป้ง น้ำตาล

3.ไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายควรรับประทานแต่ให้น้อยลง เพราะจะทำให้คุณแม่อ้วน

รับสารอาหารประเภทไขมันได้จาก : ไขมันสัตว์ น้ำมันสัตว์ น้ำมันพืช

4.วิตามิน เป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์หลายประการต่อร่างกาย เช่น วิตามิน A, วิตามิน B, วิตามิน C, วิตามิน D กรดโฟลิกหรือโฟเลต และวิตามินอื่นๆ

วิตามิน A : ผักตำลึง ยอดชะอม คะน้า แครอท ยอดกระถิน ผักโขม ฟักทอง มะม่วงสุก บรอกโคลี แคนตาลูบ แตงกวา ผักกาดขาว มะละกอสุก หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ พริกหวาน แตงโม กระเจี๊ยบเขียว

วิตามิน B :  อาหารที่มาจากพืชผักทั้งหมด

วิตามิน C : ฝรั่ง สับปะรด บรอกโคลี น้ำมะนาว กล้วยชนิดต่างๆ กะหล่ำ สตรอว์เบอร์รี่ มะเขือเทศ มะละกอ

วิตามิน D : นม เนย ปลาทู ไข่แดง ปลาซาดีน ปลาแซลมอน

5.แร่ธาตุ ต่างๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม

ธาตุเหล็ก : ไข่แดง ผักใบเขียว

แคลเซี่ยม : นม เนย ถั่ว ปลาเล็ก ผักใบเขียว


สุดท้ายนี้อาหารทุกอย่างควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

Sunday, September 8, 2013

อัลตร้าซาวด์ U/S



อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) คือ คลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งมนุษย์เราไม่สามารถรับรู้ได้ เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่สูงเกินกว่าที่มนุษย์เราจะสามารถได้ยิน

ในทางการแพทย์นั้นใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ นี้เพื่อมองรูปร่างเด็กในท้องได้ คลื่นอัลตร้าซาวด์นั้นแตกต่างจากคลื่นเอซเรย์

Q: อัลตร้าซาวด์ ครั้งแรกเมื่อไหร่ ?
A: โดยปรกติแล้วการอัลตร้าซาวด์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ครั้ง คือ
      อัลตร้าซาวด์ในช่วงไตรมาสแรก
         - เพื่อดูขนาดของความยาวและคำนวณดูอายุของครรภ์ ซึ่งไตรมาสแรกนี้จะแม่นยำที่สุด
         - ดูความปรกติของตัวอ่อนว่ามีการตั้งครรภ์จริงหรือไม่ บางรายอาจจะท้องลมหรือไม่มีตัวอ่อน
         - ดูความปรกติของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
         - ดูเนื้องอก
         - เพื่อคัดกรองดาวน์ (NT) (11week - 14week)
         - เพื่อดูความปรกติของอวัยวะของเด็กในครรภ์ หัว แขน 2 ข้าง  ขา 2 ข้าง หัวใจ กระดูสันหลัง
         - วินิฉัยดูว่าเป็นครรภ์แฝดหรือไม่
         - ตรวจดูเพศของทารก (บางรายอาจจะมองเห็นไม่ชัด)
         - ความผิดปกติต่างๆ
   
      อัลตร้าซาวด์ในช่วงไตรมาสสอง
         - วัดขนาดของทารกและการเจริญเติบโตของอวัยวะ
         - ตรวจดูเพศของทารก
         - ปริมาณน้ำคร่ำ
         - ลักษณะตำแหน่งเกาะของรก และสายสะดือ
         - ความผิดปกติต่างๆ

      อัลตร้าซาวด์ในช่วงไตรมาสสาม
         - วัดขนาดของทารกและการเจริญเติบโตของอวัยวะ
         - ปริมาณน้ำคร่ำ
         - ลักษณะตำแหน่งของรก
         - ท่าของทารก
         - ความผิดปกติต่างๆ


Crown-rump length คือ ความยาวของตัวอ่อน (CRL)



Nuchal translucency การวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอ (NT)

Biparietal Diameter คือ ความกว้างของศรีษะทารกในครรภ์ (BPD)

Head Circumference คือ เส้นรอบวงของศรีษะทารกในครรภ์ (HC)

Abdominal Circumference คือ เส้นรอบท้องของทารกในครรภ์ (AC)

Femur Length คือ ความยาวกระดูกต้นขาจองทารกในครรภ์ (FL)

Est. Fetal Weight / Estimate Fetal Weight คือ ประมาณน้ำหนักทารกในครรภ์

Estimate Due Date คือ วันกำหนดคลอดโดยประมาณ (EDD)

อัลตร้าซาวด์บ่อยๆจะทำให้มีผลต่อเด็กหรือไม่?
คำตอบคือ ไม่มีผล ซึ่งวิธีนี้ใช้กันโดยแพร่หลาย ใช้มายาวนานและยังไม่เคยมีผลข้างเคียงต่อเด็กเลย สามารถอัลตร้าซาวด์ได้ตลอด

ข้อเสียของการอัลตร้าซาวด์คือ ?
คือเสียค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ โดยอัลตร้าซาวด์นั้นบางทีก็สนองความต้องการของพ่อและแม่เด็ก เพื่อต้องการมองเห็นลูกน้อย ซึ่งมันไม่ได้เสียหายอะไรแต่การที่อัลตร้าซาวด์บ่อยๆก็ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองได้

Saturday, September 7, 2013

โฟลิกคืออะไร? โฟเลทคืออะไร?


โฟลิกคืออะไร? โฟเลทคืออะไร?

โฟลิกหรือโฟเลท (Folic acid/Folate) คือวิตามิน B9 ซึ่งมีประโยชน์หลายประการสำหรับเด็กทารก ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ระบบประสาท และรดความเสี่ยงทีีทำให้เกิดความพิการในทางรก อธิเช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ โรคหัวใจพิการ โรคท่อไขสันหลังพิการ

เพื่อป้องการความเสี่ยงก่อนที่คุณแม่จะตั้งครรภ์ควรที่จะเตรียมพร้อมกิน โฟลิกหรือโฟเลท ก่อนที่จะตั้งครรภ์ อย่างน้อย 1-3 เดือน แรกก่อนตั้งครรภ์ จนครบไตรมาสแรก ( 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์)

กรดโฟลิกนั้นนอกจากจะรับทานจากยาเสริมแล้ว ยังสามารถรับประทานได้จากผักใบเขียว บร็อคโคลี่ ผักกาดหอม กุยช่าย คึ่นช่าย


อายุครรภ์ สำคัญอย่างไร



อายุครรภ์ หรือ Gestational Age เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิงท้องเป็นอย่างมาก ดังนั้นการที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกกับหมอ หมอก็จะถามถึง วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ของเรา เพื่อที่จะไปคำนวณออกมาเป็นวันคลอด 

พอได้อายุครรภ์แล้วหมอก็จะสามารถวินิจฉัย การเลือกให้การรักษาอย่างเหมาะสม ของคุณแม่ในช่วงอายุครรภ์นั้นๆ ในเคสที่เกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้น หมอก็จะสามารถเลือกวิธีตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง จึงเป็นที่มาที่ว่ายิ่งเราไปฝากครรภ์เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

การอัลตราซาวด์ครั้งแรก ของไตรมาสที่ถึง หมอก็จะสามารถดูความยาวของมดลูกและขนาดของทารกตัวอ่อนและก็จะสามารถประเมิณอายุครรภ์คร่าวๆได้ ซึ่งการอัลตราซาวด์ในไตรมาสแรกนั้นจะทำให้รู้อายุครรภ์ได้อย่างแม่นยำที่สุดและจะแม่นยำน้อยลงเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นเรื่อยๆ

เห็นความสำคัญของอายุครรภ์แล้วใช่มั้ยคะ เมื่อรู้ว่าตัวเองท้องรีบไปฝากครรภ์ให้หมอดูแลอย่างไกล้ชิดดีที่สุด :)

ภาพประกอบ : http://wannagetpregnant.com

ท้องแรก มีเลือดออก



เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ หากมีเลือดออกทางช่องคลอด เป็นเลือดที่ไม่เหมือนประจำเดือน มีกระปริบกระปรอย แค่เป็นรอยเปื้อนที่กางเกงใน ซึ่งอาการนี้อาจจะเกิดจากตัวอ่อนเริ่มทำการฝังตัวลงสู่มดลูก ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก หากมีเหลือดออกมาหรือมีอาการปวด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

หรือการที่เลือดออกมาเป็นจำนวนมาก มีอาการปวดท้อง ไม่ว่าจะเป็นไตรมาสใดๆก็มีความเสี่ยง ภาวะนี้เรียกว่า "ภาวะแท้งคุกคาม" ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพย์ฉีดยากันแท้งให้

การดูแลรักษาตัว : 

- พยายามเดินให้น้อยลง
- อยู่กับที่ห้ามไปไหน
- ไม่ควรยกของหนัก
- พักผ่อนให้มากๆ
- ใส่รองเท้าที่กันกระแทกได้
- ดูแลสุขภาพจิตด้วย

อย่าลืมว่าหากมีอะไรผิดปรกติควรรีบไปพบแพทย์ หลายคนอาจจะไม่อยากคิดมาก แต่ควรจำเอาไว้เสมอว่า "คิดมากไป ไปทำไมให้เสียเวลา ดีกว่า มาทำไมจนป่านนี้ เสียเวลาดีกว่าเสียลูก"

น้ำหนักขณะตั้งครรภ์


อาหารขณะท้องนั้น อันดับแรกเลยควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหาร เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่นั้นสมบูรณ์และมีสารอาหารเพียงพอที่จะไปหล่อเลี้ยงเด็กในท้อง เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น ร่างกายจะต้องการอาหารเพิ่มขึ้นเช่นกัน คุณแม่ควรเพิ่มน้ำหนักรวมประมาณ 8-14 kg
เพิ่มน้ำหนักขณะตั้งครรภ์เท่าไหร่ดี?
การเพิ่มน้ำหนักนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงไตรมาสแรก 1-3 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1kg – 1.5kg แต่บางคนน้ำหนักอาจจะไม่เพิ่มเลยก็มี เนื่องจากช่วงนี้จะมีอาการแพ้ท้องมาก ทำให้ทานอาหารไม่ค่อยได้ หลังจาก 3 เดือนแรกก็จะเริ่มทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
ช่วงไตรมาสสอง 4-6 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 4kg – 5kg
ช่วงไตรมาสสาม 6-9 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5kg – 6kg
วิธีการคำนวณหาดัชนีมวลกาย BMI (Body mass index) 



ค่า BMI < 19.8 = ผอม (ควรเพิ่มน้ำหนัก 12.5kg ถึง 18kg)
ค่า BMI ระหว่าง 19.8 – 26 = ปกติ (ควรเพิ่มน้ำหนัก 11.5kg ถึง 16kg)
ค่า BMI ระหว่าง 26 – 29 = ท้วม (ควรเพิ่มน้ำหนัก 7kg ถึง 11.5kg)
ค่า BMI > 29 = อ้วน (ควรเพิ่มน้ำหนัก 7kg)

ว่าด้วยการเพิ่มน้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์
น้ำหนักของคุณแม่ควรจะเพิ่มเท่าไหร่ดี?

การเพิ่มน้ำหนักของคุณแม่นั้น หากคนผอมควรเพิ่มมากหน่อย คนอ้วนควรเพิ่มน้อยหน่อย ยิ่งเกินเยอะมากเกินไปน้ำหนักจะไปสะสมอยู่กับแม่

คุณแม่เองไม่ควรเพิ่มน้ำหนักมากจนเกินไป ควรหลีกเลี่ยวอาหารประเภทแป้งและไขมัน เพราะอาหารเหล่านี้จะมีโอกาสทำให้ลูกนั้นเป็นโรคอ้วน หรือ โรคเบาหวาน ได้


ดังนั้นควรเพิ่มน้ำหนักพอดีๆ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปจะดีที่สุด พยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะเป็นผลดีต่อลูกในท้อง


อาการตั้งครรภ์

สัญญาณการตั้งครรภ์มีดังนี้
1.ประจำเดือนขาด
ถ้าคุณเป็นคนที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอไม่เคยขาด ไม่มีภาวะเครียด เมื่อผ่านไปหลายวันประจำเดือนก็ยังไม่มา ควรหาซื้อที่ตรวจตั้งครรภ์มาตรวจได้เลย
2.เวียนหัว อาเจียน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการแพ้ท้อง ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายจึงอาจมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น กินอาหารไม่ลง เบื่ออาหาร ทั้งนี้บางคนก็ไม่มีอาการนี้เลยก็ว่าได้
3.ตัวร้อนขึ้น
อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น
4.จมูกมีความไวต่อกลิ่น
จมูกจะมีความไวมากขึ้น ได้กลิ่นที่ไม่ชอบ เหม็น คาว กลิ่นอาหารบางชนิด กลิ่นวัตถุต่างๆ ซึ่งกลิ่นนี้จะนำพามาทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะอาจจะถึงขั้นอาเจียรเลยก็ว่าได้
5.อารมแปรปรวน
ซึ่งผลนั้นก็มาจากระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
6.เหนื่อยง่าย
ทำอะไรก็เหนื่อยไปหมด รู้สึกอยากพักผ่อน
7.ปัสสาวะบ่อยขึ้นและมีสีเข้มขึ้น
ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยน ขนาดของท้องเริ่มจะขยาย ทำให้ไปบีบทางเดินปัสสาวะ
8.อยากกินอาหารแปลกๆ
บางครั้งก็เกิดการเบื่ออาหาร รู้สึกขมๆในปาก จึงทำให้รู้สึกอยากกินอะไรแปลกๆ ของที่ไม่ค่อยได้กินมาก่อน ของที่ไม่เคยกิน หรือของที่เปรี้ยวๆ
9.เต้านมขยาย คัดเต้านม
เต้านมขยายใหญ่ขึ้น เริ่มมีเส้นเลือดสีดำรอบๆเต้านม
10.ท้องผูก
ลำไส้มีการบีบตัวได้น้อยลง มดลูกกดทับลำไส้ใหญ่ อาการท้องผูกจะเพิ่มขึ้น ควรดื่มน้ำมาก ๆ ทานอาหารที่มีกากใยเช่นผักและผลไม้ จะช่วยลดอาการท้องผูกได้
11.มีเลือดออกทางช่องคลอด
เป็นเลือดที่ไม่เหมือนประจำเดือน มีกระปริบกระปรอย แค่เป็นรอยเปื้อนที่กางเกงใน ซึ่งอาการนี้อาจจะเกิดจากตัวอ่อนเริ่มทำการฝังตัวลงสู่มดลูก ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก จะอยู่ในระยะเวลาเริ่มประมาณวันที่ 5-6

ตรวจเลือดก่อนตั้งครรภ์


ตรวจภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน
การติดเชื้อหัดเยอรมันช่วงตั้งครรภ์นั้นมีผลโดยตรงต่อเด็กในท้อง อาจจะทำให้เด็กเกิดความพิการได้ ทั้งนี้ทางแพทย์จะตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันหรือไม่ หากยังไม่มีแพทย์จะทำการฉีดยาให้อีกที
ตรวจหาโรคฟิซิลิส (VDRL)
โรคฟิซิลิสนั้นติดต่อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ตัวคุณแม่เองจะไม่มีอาการให้เห็น แต่ส่งผลให้ลูกในท้องนั้นไม่มีการเจริญเติมโต มีความผิดปรกติในสมอง มีความพิการในอวัยวะต่างๆได้
ตรวจหาโรคและภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี (HBsAG &  Anti-HBs)
เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สามารถติดต่อทาง เลือด น้ำเชื้อ น้ำลาย และจากแม่ไปสู่ลูก ซึ่งอาการของโรคนี้คือทำให้ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย
ตรวจหาเชื่อเอดส์ (Anti HIV)
สามารถติดต่อทาง เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นช่องคลอด น้ำหลั่งก่อนการหลั่งอสุจิ และนมมารดา อาจติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือช่องปาก, การรับเลือด, การใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน, ติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ คลอด ให้นม หากแพทย์พบการติดเชื้อก็จะรีบทำการให้ยาเพื่อลดการติดเชื้อจากแม่ไปยังลูกได้


การฝากครรภ์


Q: ฝากครรภ์คืออะไร ?
A: คือการตรวจสุขภาพเบื้องต้นหาสิ่งผิดปรกติต่างๆที่ส่งผลแก่ลูกน้อย พร้อมทั้งติดตามความผิดปรกติเป็นระยะๆ
Q: ควรไปฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี ?
A: เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ควรไปทันที ช้าสุดไม่ควรเกิด 3 เดือน
Q: ฝากครรภ์ที่ไหนดี อะไรเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจในการฝากครรภ์ ?
A: ควรเลือก รพ. ที่อยู่ไกล้บ้าน หรือไกล้ที่ทำงาน สะดวกสะบายของคุณแม่ ไม่ควรอยู่ไกลจนเกินไป เพราะช่วงหลังๆหมอจะนัดมาตรวจค่อนข้างบ่อย หากท้องแก่แล้วก็จะสามารถมาที่ รพ. ได้สะดวกอีกด้วย
Q: ฝากครรภ์ไปแล้วเปลี่ยน รพ. ได้หรือไม่ ?
A: ได้ นั่นเป็นสิทธิของเรา อาจจะเลือก รพ. ที่เราคิดว่าถูกใจ มีแพทย์หรือพยาบาลที่เรารู้จักเชื่อใจ เพราะเราเองต้องเข้าออก รพ. นั้นอยู่บ่อยๆเป็นเวลา 9 เดือน หากเรารู้สึกพึงพอใจและสบายใจแก่เราแล้ว มันก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพจิตของเราและลูกน้อยในท้อง
Q: เตรียมตัวฝากครรภ์ต้องทำอะไรบ้าง ?
A: แรกสุดทำจิตใจให้สบายไว้ก่อน เตรียมข้อมูลประวัติเรื่องสุขภาพของเรา
Q: ฝากครรภ์หมอถามอะไรบ้าง ?
A:
1.ประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ โดยเริ่มนับจากสัปดาห์แรกเริ่มจากวันแรกของประจำเดือนที่มาครั้งสุดท้าย เพื่อกำหนดวันคลอด
2.ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติการแท้ง การขุดมดลูก โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา โรคติดต่อทางพันธุกรรม
Q: ฝากครรภ์หมอตรวจอะไรบ้าง ?
A: ตรวจสุขภาพทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดเบาหวาน ตรวจขนาดของมดลูก ตรวจเต้านม ตรวจเลือดดูความเสี่ยงของโลหิตจาง ปริมาณของเกร็ดเลือด ขนาดของเม็ดเลือดแดง
Q: ฝากครรภ์ครั้งแรกหมออัลตราซาวด์ให้หรือไม่
A: ขึ้นอยู่กับหมอ บางที่หมอก็ยังไม่ซาวด์ให้จนกว่าอายุครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์ บางที่หมอยังไม่อยากจะซาวด์ให้ก่อนเนื่องจากว่าซาวด์ไปก็ยังมองเห็นอะไรไม่มากนัก ทำให้คุณแม่เกิดความเครียดกลัวว่าตัวเองยังไม่ท้อง กลัวจะเป็นท้องลม ซึ่งการซาวด์ช่วงหลัง 12 สัปดาห์จะทำให้เห็นอะไรชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Q: อัลตราซาวด์นั้นมีผลต่อเด็กในท้องหรือไม่ ?
A: ไม่มีผลอันตรายใดๆกับเด็กในท้อง

การตรวจตั้งครรภ์


Q: เมื่อไหร่ควรที่จะตรวจการตั้งครรภ์
A: เมื่อประจำเดือนขาด บางคนก็ 1 วันรู้ผล บางคนก็ 2 วัน บางคนก็ 5 วัน บางคน 7 วัน ซึ่งไม่แน่ไม่นอนแล้วแต่คน
Q: ที่ตรวจครรภ์มีกี่แบบ
A: หลักที่เห็นกันบ่อยๆมี 2 แบบคือ แบบจุ่มและแบบหยด
Q: ควรตรวจครรภ์เมื่อไหร่ เวลากี่โมง?
A: ควรตรวจช่วงหลังตื่นนอน ปัสสาวะครั้งแรกของวัน ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีประมาณฮอโมนสูงสุดได้ผลดีที่สุด และก็ควรเป็น
Q: ตรวจแล้วขึ้น 2 ขีด ท้องชัวร์มั้ย?
A: ที่ตรวจครรภ์ค่อนข้างแม่นยำ อาจจะขึ้นขีดจางหรือเข้มแล้วแต่ฮอโมนในร่างกาย แนะนำให้ตรวจซ้ำอีกรอบ
Q: ตรวจแล้วขึ้น 2 ขีดจางๆจะท้องมั้ย?
A: ตามคำตอบที่แล้ว ที่ตรวจครรภ์ค่อนข้างแม่นยำ อาจจะขึ้นขีดจางหรือเข้มแล้วแต่ฮอโมนในร่างกาย แนะนำให้ตรวจซ้ำอีกรอบ
Q: ตรวจแล้วไม่ขึ้นซักขีดจะท้องมั้ย?
A: บางคนตรวจแล้วไม่พบ แต่พอตรวจเลือดกลับพบว่าท้องก็มี หากมีอาการผิดปรกติและประจำเดือนไม่มาเป็นเวลานานตรวจแล้วไม่พบ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดซ้ำอีกรอบ
*ควรตรวจสอบวันหมดอายุข้างกล่อง


วิธีการเลือกเพศลูก


วิธีการเลือกเพศลูก
สามารถทำได้ 3 วิธีคือ
วิธีธรรมชาติ , ทำเด็กหลอดแก้ว, ฉีดเชื้อผสมเทียม
บทความนี้จะเสนอวิธีธรรมชาติที่ช่วยให้เพิ่มโอกาสได้มากขึ้น
เนื่องจากน้ำอสุจิของผู้ชายนั้นจะมี sperm อยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ สเปิร์มตัวผู้ (Sperm-y), สเปิร์มตัวเมีย (Sperm-x)
สเปิร์มตัวผู้
ตัวเล็ก
ว่องไว
ไม่ชอบสภาวะเป็นกรด
เคลื่อนที่ได้ไวในสภาพด่าง
มีอายุน้อย
สเปิร์มตัวเมีย
ตัวใหญ่อ้วน
เชื่องช้า
ทนต่อสภาวะกรด
มีอายุยาวนาน
เพิ่มโอกาสเพศชายงดมีเพศสัมพันธ์ซักระยะ
สอดอวัยวะเพศให้ลึก
ฝ่ายหญิงถึงจุดสุดยอดทำให้เกิดสภาวะด่าง
ใช้หนอมหนุนรองก้น
ยกขาขึ้นสูง
มีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันไข่ตกพอดี
ส่วนเพศหญิงก็ทำตรงกันข้ามจากที่กล่าวมา
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอีกหลายๆปัจจัยและวิธีดั่งกล่าวก็ไม่สามารถทำให้เกิดผลได้ 100% แต่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายก็อย่าลืมว่า ลูก ผู้ชายหรือผู้หญิง ก็คือลูกเราเช่นกัน

การตรวจสุภาพก่อนตั้งครรภ์


การตรวจสุภาพก่อนตั้งครรภ์ คือการตรวจหาโรคและความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายของแม่และลูก ควรตรวจทั้งพ่อและแม่เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัย 35 ปีขึ้นไป
ตวรจเลือด ขึ้นอยู่กับโปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ของ รพ. นั้นๆ อาจจะมีมากกว่านี้ แต่หลักๆแล้วก็จะมี
- ตรวจกรุ๊ปลือด (Blood group)
- ตรวจภูมิคุ้มกันไวรัสเอดส์ (Anti HIV)
- ตรวจภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IG)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี (Anti HBs)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC )
- ตรวจหาความเสี่ยงโรคธารัสซีเมีย (Hemoglobin E)
- โรคเบาหวาน
หลังจากตรวจภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันหรือภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี ไม่พบว่ามีภูมิคุ้มกัน จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันหรือภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี ก่อนตั้งครรภ์ หลังจากฉีดแล้วต้องคุมกำเนิดงดมีบุตรในช่วงนี้เป็นเวลา 3 เดือน
จ่ายยาบำรุง
โฟลิกแอซิด หรือ โฟเลต (Folic acid , Folate) ให้ทานก่อนตั้งครรภ์เป็นระยะเวลา 3 เดือน เนื่องจากวิตามินในตัวยานั้น สามารถป้องการความทางสมองและประสาทไขสันหลังได้
โฟลิกมีส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงทั้งแม่และลูก ใช้ในการสร้างเซลล์พันธุกรรม ป้องกันโรคโรคหัวใจ และโรคพิการแต่กำเนิด ผักใบเขียว ถั่ว ธัญพืช ต่างๆนั้นก็มีสารของโฟลิกประกอบด้วยเช่นกัน

การวางแผนการตั้งครรภ์

การวางแผนการมีลูกนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก ปัจจุบันนี้มีคนตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม สุดท้ายก็ไปทำแท้งนั้นเป็นเรื่องไม่ดีผิดศิลธรรม ดังนั้นควรเตรียมความพร้อมเสียก่อน
ความพร้อมทางด้านร่างกาย
ควรไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีบุตร เพื่อตรวจร่างกายตรวจเลือดดูความพร้อม ของร่างกายว่าพร้อมที่จะมีลูกได้หรือไม่
(ร่างกายที่ไม่พร้อม คือ ร่างกายที่มีโรคติดต่อทางพันธุกรรมบางโรค ซึ่งมีผลโดยตรงไปยังลูก ทำให้ลูกนั้นไม่มีความสมบูรณ์)
ตรวจก่อนตั้งครรภ์ตรวจอะไรบ้าง ??
- กรุ๊ปเลือด
- คัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
- หัดเยอรมัน
- โรคทางพันธุกรรม ต่างๆเช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคซิฟิลิส
หลังจากไปพบแพทย์เสร็จแล้วนั้นแพทย์จะให้ยาบำรุงร่างกายมา ก็คือยา โฟลิกแอซิด หรือ โฟเลต (Folic acid , Folate) และ แคลเซี่ยม มาให้ทานก่อนที่จะมีบุตร
ความพร้อมทางด้านจิตใจหากต้องการให้ลูกมีสุขภาพจิตและร่างกายที่ดีนั้น ต้องเริ่มที่แม่ก่อน ฝึกโดยการนั่งสมาธิ ออกกำลังกาย หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆที่มีอากาศบริสุทธิ์ พร้อมทั้งหาเพลงที่ตัวเองชอบนั่งฟังไปเพลินๆชิลๆ จะทำให้จิตใจสบายขึ้นมาก
ความพร้อมทางด้านการเงินแน่นอนว่าทุกอย่างต้องใช้เงิน เริ่มตั้งแต่ไปตรวจสุขภาพ ยา ฝากท้อง คลอด เลี้ยงดู ซึ่งทั้งหมดนี้ย่อมมีค่าใช้จ่ายต่างๆนาๆและจำเป็น เป็นอย่างยิ่ง
ความพร้อมทางการเลี้ยงดูเมื่อลูกลืมตาขึ้นมาดูโลกปุ๊บ เราก็จำเป็นต้องเลี้ยงดูจนกว่าเค้าจะโตซึ่งต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ยิ่งช่วงแรกๆนั้นแทบจะห่างไม่ได้เลย เนื่องจากลูกยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่วัยทำงานที่ต้องหาเลี้ยงปากท้องนั้นก็จำเป็น คงต้องช่วยกันคิดหาวิธีและทางออกว่า จะหาใครมาเลี้ยงดู ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง หรือ พี่เลี้ยง ก็ตามตกลงและความเหมาระสม